หน้าแรก > ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด > รู้จัก "มะเร็งกล่องเสียง" สาเหตุ ปัจจัยเสี่ยง อาการ และวิธีรักษา
รู้จัก "มะเร็งกล่องเสียง" สาเหตุ ปัจจัยเสี่ยง อาการ และวิธีรักษา 13 กรกฎาคม 2563
รู่จัก "มะเร็งกล่องเสียง" สาเหตุ ปัจจัยเสี่ยง อาการ และวิธีรักษา
Hello Khun Mor

สนับสนุนเนื้อหา

 

 

มะเร็งกล่องเสียง (Laryngeal Cancer) เกิดจากเซลล์มะเร็งก่อตัวในเนื้อเยื่อบริเวณกล่องเสียง โดยปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญที่สุดของการเกิดมะเร็งกล่องเสียง คือการสูบบุหรี่ และดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์

มะเร็งกล่องเสียง  (Laryngeal Cancer) คืออะไร?

มะเร็งกล่องเสียง (Laryngeal Cancer)  เป็นโรคที่พบได้ยาก เกิดจากเซลล์มะเร็งก่อตัวในเนื้อเยื่อบริเวณกล่องเสียง โดยปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญที่สุดของการเกิดมะเร็งกล่องเสียง คือการสูบบุหรี่ และดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์  ผู้ที่ป่วยเป็นมะเร็งกล่องเสียงส่วนใหญ่ จะมีอาการเสียงแหบ หายใจลำบาก ไอ เจ็บคอ คอบวม ปวดหู เป็นต้น

ใครเสี่ยงมะเร็งกล่องเสียงบ้าง?

ผู้ที่ป่วยเป็นโรคมะเร็งกล่องเสียง จะพบได้บ่อยในเพศชายมากกว่าเพศหญิงถึง 4 เท่า โดยส่วนใหญ่มีอายุมากกว่า 40 ปี ขึ้นไป

อาการของมะเร็งกล่องเสียง

ลักษณะอาการของมะเร็งกล่องเสียงโดยทั่วไป มีดังนี้

  • เสียงแหบ
  • หายลำบาก
  • ไอ หรือไอเป็นเลือด
  • ปวดคอ
  • เจ็บคอ
  • ปวดหู
  • กลืนอาหารลำบาก
  • คอบวม
  • น้ำหนักลดลง

อาการดังกล่าวข้างต้นนี้อาจไม่ใช่อาการของโรคมะเร็งกล่องเสียงเสมอไป หากพบว่าตนเองมีอาการต่อเนื่องนานเกิน 1 สัปดาห์ ควรปรึกษาแพทย์หรือผู้เชี่ยวชาญเพื่อทำการวินิจฉัยโรคและรับการรักษา

ควรไปพบหมอเมื่อใด

หากคุณมีสิ่งบ่งชี้หรืออาการใด ๆ ตามที่ระบุข้างต้น หรือมีคำถาม โปรดปรึกษาแพทย์ ร่างกายของแต่ละบุคคลมีการตอบสนองแตกต่างกัน ทางที่ดีที่สุดให้ปรึกษาแพทย์เกี่ยวกับวิธีรักษาที่ดีที่สุดตามสถานการณ์ของคุณ

สาเหตุของมะเร็งกล่องเสียง

สาเหตุที่ทำให้เกิดความเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งกล่องเสียง มีดังต่อไปนี้

  • การดื่มแอลกอฮอล์อย่างหนัก
  • รับประทานอาหารที่ไม่มีประโยชน์
  • ปัญหาเกี่ยวกับระบบภูมิคุ้มกัน
  • การสัมผัสกับสารเคมีบางชนิด เช่น แร่ใยหิน
  • โรคทางพันธุกรรม เช่น โรคโลหิตจางจากไขกระดูกฝ่อ (Fanconi Anemia)
  • สมาชิกในครอบครัวเป็นมะเร็งกล่องเสียง
  • การติดเชื้อ

ขอขอบคุณข้อมูลและภาพ

iStockจินดารัตน์ สิริวิจักษณ์ และ https://www.sanook.com/health/23669/


ย้อนกลับ